แม่โจ้-แพร่ฯ ร่วมงานประเพณีกิ๋นสลากหลวงเมืองแพร่ ประจำปี พ.ศ. 2566
จังหวัดแพร่ กำหนดจัดงานประเพณีกิ๋นสลากหลวงเมืองแพร่ ประจำปี พ.ศ. 2566 สืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น โดยกำหนดจัดงานขึ้น ในวันอังคาร ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สำหรับประเพณีกิ๋นสลาก เป็นประเพณีทำบุญที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาลเป็นความเชื่อที่มีเหตุเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตแบบชนบทของชาวล้านนา เป็นการถวายข้าวใหม่ อาหาร ผลผลิตทางการเกษตร เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษและผู้ล่วงลับ ในจังหวัดแพร่ “การกิ๋นสลาก” แต่เดิมใช้คำว่า ประเวณีกิ๋นสลาก เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างช้านานในทุกวัด ต่อมาได้ใช้คำว่า “ประเพณีกิ๋นสลากหลวง” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน โดยการริเริ่มของพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ตุ๊ปู่จี๋) พระมหาเถรานุเถระ ของจังหวัดแพร่ จัดให้มีประเพณีขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้คนเมืองแพร่ได้ร่วมทำบุญถวายสลากกับหัววัดต่างๆ มีการกระจายสลากออกไปยังวัดนอกเมืองด้วยวิธีการจับฉลาก และนิมนต์พระสงฆ์จากวัดทุกอำเภอมาร่วมงานประเพณีกิ๋นสลากที่วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร วัตถุประสงค์เพื่อให้นำปัจจัยไปบูรณะ ปฏิสังขร วัดวาอาราม เป็นทุนการศึกษาธรรมะของพระภิกษุสามเณร การกิ๋นสลากหลวงเมืองแพร่ จึงจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีจวบจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ โดยการนำของท่านอาจารย์ ดร.ศุกรี อยู่สุข คณบดี ได้มอบหมายให้ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย ประธานกรรมการและคณะกรรม วางแผนกำหนดรูปแบบการจัดขบวนแห่ ร่วมกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมถึงอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดแพร่