แนวทางจัดการปัญหาอาหารเหลือ

     อาหารเหลือทิ้ง (Food Waste) คือ อาหารที่ผลิตเสร็จแล้ว ผักและผลไม้ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เข้าสู่ขั้นตอนการกระจายสินค้าหรือบริโภค แต่ถูกทิ้งให้เน่าเสียหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ใด ๆ ซึ่งเกิดจากหลากหลายสาเหตุ เช่น 1) การคัดทิ้งเนื่องจากมีลักษณะภายนอกไม่สวยงาม 2) การจัดเก็บวัตถุดิบด้วยวิธีการไม่เหมาะสม 3) การซื้อสินค้าที่มากจนเกินจำเป็น 4) สินค้าหรืออาหารหมดอายุ และโดยเฉพาะ 5) การรับประทานอาหารไม่หมดทำให้เกิดอาหารเหลือในครัวเรือน

     ผลกระทบจากอาหารเหลือทำให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาติ ได้เสนอแนวทางการจัดการปัญหาอาหารเหลือทิ้งเป็น 4 ขั้นได้แก่


1. Reduce/>Prevention: ลดหรือป้องกันการเกิดอาหารเหลือทิ้ง
reduce

เป็นแนวทางที่ให้ความสำคัญลำดับต้นเพื่อป้องกันปัญหาต้นทางสามารถทำได้โดย

  • การลดขนาดบรรจุของสินค้าให้เหมาะสมต่อขนาดบริโภคและการจัดสินค้าด้วยวิธีที่เหมาะสมเพื่อยืดอายะอาหาร
  • พัฒนารูปแบบการขนส่งที่รวดเร็ว เพื่อบดการสูญเสียคุณภาพของการอาหาร
  • การวางแผนการเตรีรยมให้บริการอาหารเพื่อลดปัญหาการเกิดอาหารเหลือทิ้ง

2. Reuse: จัดการอการเหลือทิ้งให้เกิดประโยชน์สูงสุด
reuse

นำอาหารเหลือทิ้งที่ไม่สามารถดัดแปลงใช้ประโยชน์ได้แล้ว มาสู่กระบวนการผลิตเพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น เช่น การนำกากอาหารมาผลิตก๊าซชีวภาพ ผลิตปุ๋ย และใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า เป็นต้น


3. Recycle/Recovery: นำอาหารเหลือทิ้งไปดัดแปลงใช้ประโยชน์
recycle/recover

เป็นแนวทางที่ควรดำเนินการในขั้นถัดมา เช่น การบริจาค การจำหน่ายในราคาถูก การตั้งร้านค้าพิเศษเพื่อจำหน่ายสินค้าที่ถูกคัดทิ้ง การนำไปใช้เป็นวัตถุดิบอาหารใหม่ การใช้เป็นอาหารสัตว์เป็นต้น

4. Landfill: นำอาหารเหลือทิ้งไปฝังกลบหรือทำลาย

เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการจัดการอาหารเหลือทิ้งที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ แต่ทั้งนี้การฝังกลบสามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านมลภาวะทางกลิ่นและเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค


ที่มา: วารสารเพื่อการเตือนภัยสินค้าเกษตรและอาหาร ปีที่ 11 รายไตรมาส เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2562

Copyright © 2019 | Maejo University Phrae Campus. All Rights Reserved.