เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีไร้สายแล้ว Wireless LAN เป็นเทคโนโลยีที่มีผู้ให้ความสนใจมาก    เนื่องจากสามารถนำเทคโนโลยี
Wireless LAN (WLAN) มาประยุกต์ใช้กับองค์กร สถานศึกษารวมถึง หน่วยงานราชการ   ทั้งนี้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของการ
ติดตั้งระบบเครือข่าย อีกทั้ง Wireless LAN มีความคล่องตัวสูงในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย

          ในอดีต WLAN  ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากอุปกรณ์ Wireless    มีราคาสูงและมีความเร็วในการติดต่อสื่อสารประมาณ  2  Mbps (สองล้านบิตในหนึ่งวินาที)    เมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วของอุปกรณ์เครือข่ายแบบใช้สายซึ่งมีความเร็วประมาณ 100 Mbps หรือ  50 เท่า ทำให้ประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสารที่่ใช้ WLAN ไม่ดีเท่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเดิมซึ่งใช้สาย 

          ปัจจุบันอุปกรณ์เครือข่าย Wireless มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยมีความเร็วประมาณ 11 Mbps ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานถึงแม้ว่ายังมีความเร็วน้อยกว่าแบบใช้สายถึง 10 เท่า แต่การใช้งานทั่วไป เช่น การส่ง E-mail การค้นหาข้อมูลใน Web Site หรือการดูหนังโดยใช้อินเตอรืเน็ต (IP TV) ความเร็วขนาด 10 Mbps เพียงพอต่อการใช้งาน ดังนั้นทำให้ WLAN มีความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นหนทางสำหรับบริษัทที่ต้องการระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ รองรับการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอด เช่น คอมพิวเตอร์ Notebook หรือ เครื่อง Personal Digital Assistant (PDA)

ความเป็นมาของ Wireless LAN
           ความต้องการใช้ระบบแลนไร้สายมีลักษณะเช่นเดียวกับระบบเซลลูลาร์โฟน หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ระบบแลนไร้สายต้องการเซลขนาดเล็ก และเป็นเซลเฉพาะกิจ เป็นเซลส่วนตัวที่เชื่อมกับเครือข่ายได้ ดังนั้นจึงมีความพยายามที่พัฒนาเครือข่ายแลน แบบไร้สาย เพื่อให้รองรับความต้องการของผู้ใช้ กลุ่มผู้ใช้ที่มีความต้องการใช้แลนแบบ ไร้สายได้แก่ ร้านค้าปลีก ที่เก็บสินค้า โรงพยาบาล ธุรกิจขนส่ง มหาวิทยาลัย ตลอดจน องค์กรภาคธุรกิจต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 1997 สถาบัน IEEE ได้กำหนดมาตรฐานแลนไร้สายแบบเดียวกับอีเทอร์เน็ต และเป็นชุดเดียวกับ 802 โดยให้ชื่อว่า IEEE 802.11 มาตรฐานที่เกิดขึ้นในปีนั้นยังมี ข้อจำกัดในทางเทคโนโลยี จึงกำหนดระบบการรับส่งสัญญาณด้วยขนาดความเร็ว 2 เมกะบิตต่อวินาที ระบบแลนไร้สาย IEEE 802.11 จึงเป็นที่รู้จักกันตั้งแต่นั้นมา

          ในปี ค.ศ. 1999 IEEE ได้พัฒนามาตรฐานใหม่ของแลนระบบไร้สายและให้ชื่อ มาตรฐานที่ IEEE 802.11b โดยมีการพัฒนาให้ใช้ความเร็วในการรับส่งได้ถึง 11 เมกะบิตต่อวินาที และเป็นแบบฟูลดูเพล็กซ์คือ รับและส่งแยกกันด้วยความเร็ว 11 เมกะบิตต่อวินาที จากมาตรฐาน 802.11b ที่ประกาศออกไป ทำให้มีผู้ผลิตแลน ไร้สายออกมามาก โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายขนาดใหญ่ทุกบริษัทให้ ความสนใจและเร่งการพัฒนาปรับปรุงกันต่อไป การพัฒนาแลนไร้สาย มิได้หยุดอยู่ เพียงแค่การทำให้เชื่อมต่อถึงกันได้เท่านั้น ระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยของ สัญญาณข้อมูลที่แพร่กระจายในอากาศ มีการวางมาตรฐานทางด้านเอ็นคริปชั่น และการสร้างระบบดูแลรักษาความปลอดภัยการเข้าถึง มีการพัฒนาระบบการ เคลื่อนย้ายเข้าสู่เครือข่ายหนึ่งไปอีกเครือข่ายหนึ่ง หรือที่เรียกว่า โรมมิ่ง (Roaming) มีการแบ่งโหลดระหว่างเซล โดยการตรวจสอบความแรงของสัญญาณเพื่อให้ขนาด ของพื้นที่ทับซ้อนกันได้


Best view : 800x600 pixels with Internet Explorer  
Copyright ©  2005 Maejo-Phrae University . All rights reserved.
Contact us : noi_bit@hotmail.com
Designed by : Miss Rattana Panyakrua