กิจกรรมที่ 8

โครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิต

 

1. ชื่อโครงการพัฒนาส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ

 

2. ผู้รับผิดชอบโครงการอาจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร

 

3. คณะทำงาน

4. หลักการและเหตุผล

          การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์เป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญและกำหนดความสำคัญและกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560-2564 การขับเคลื่อนให้เกิด “การทำเกษตรอินทรีย์ถือเป็นการเกษตรไทย” ให้ได้ จะต้องสามารถสร้างการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ด้วยระบบที่มีความสะดวกต่อเกษตรกร และให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมมือและเกิดการเชื่อมโยงระบบตลาดนำสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าสู่ระบบและพัฒนาเข้าไปสู่ตลาดระดับสูง การผลิตสินค้าอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาดีขึ้น เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น การเกษตรประเทศไทยก็จะมีความมั่นคงและยั่งยืนอย่างแท้จริง การเพิ่มขีดความสามารถต่อเกษตรกรในการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาส่งเสริมการตลาดและจัดทำข้อมูลตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์จึงมีความสำคัญในการพัฒนาส่งเสริมสินค้าเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกร

 

5. วัตถุประสงค์

1.  เพิ่มขีดความสามารถด้านการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรอินทรีย์

2.  พัฒนาส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรให้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปและนักท่องเที่ยว

3.  จัดทำข้อมูลด้านการตลาดที่ทันสมัยสามารถใช้ในการจัดทำแผนงานด้านตลาดเชิงรุก

 

 

 

 

6. เป้าหมาย

          6.1 เชิงปริมาณ จำนวนผู้เข้าอบรม 160 คน และ 8 ผลิตภัณฑ์

          6.2 เชิงคุณภาพ กลุ่มเกษตรกรเป้าหมายเปลี่ยนแปลงจากการใช้สารเคมีมาใช้ชีวิตแบบเกษตรอินทรีย์พัฒนาคุณภาพชีวิต และผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพต่อไป

 

7. วิธีดำเนินการ

ลำดับ

กิจกรรม

วัน/เดือน/ปี

1

วทีประชุมกลุ่มย่อยของเกษตรอินทรีย์

27-28 ม.ค.2561-10-11 ก.พ. 2561

2

ดูงานเกษตรอินทรีย์(ต้นแบบ) ที่ประสบผลสำเร็จจากตลาดอินทรีย์

 

3

อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและสร้างตราสินค้า

 

4

อบรมเชิงปฏิบัติการจัดการช่องทางการตลาด

 

5

สัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านตลาดออนไลน์

 

                                                                       

 

สถานที่ดำเนินการ (ระบุพื้นที่)

1.  บ้านแม่พุง  อำเภอวังชิ้น  จังหวัดแพร่

2.  บ้านนาตมชุมชนสามัคคี  อำเภอสูงเม่น  จังหวัดแพร่

3.  บ้านห้วยหาด หลักลาย  อำเภอปัว  จังหวัดน่าน

4.  บ้านไชยสถาน  อำเภอเมือง  จังหวัดน่าน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเกษตรกรเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้มีมาตรฐานมากขึ้นและสามารถมีผลิตภัณฑ์ที่มาจากเกษตรอินทรีย์อย่างน้อยกลุ่มละ 2 ผลิตภัณฑ์


ภาพกิจกรรมที่ 8
  • อบรมและส่งเสริมการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ (สัตว์ปีก)
  • โครงการพัฒนาส่งเสริมสินค้าเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือตอนบน
ติดต่อเรา