กิจกรรมที่ 5

โครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิต

 

1. ชื่อโครงการอบรมและส่งเสริมการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ (สัตว์ปีก)

2. ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์ ดร.วรศิลป์  มาลัยทอง

3. คณะทำงาน

4. หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันภาครัฐได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสินค้าเกษตรอินทรีย์ในหลายโอกาส โดยได้กำหนดนโยบายให้เกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งองค์กรภาคส่วนอื่นๆ ที่ได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับการสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ เช่น ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ชุมชน ทำให้การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยมีการกระจายตัวไปในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ

รูปแบบของอาหารจากเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางด้านการผลิตพืชอินทรีย์ เนื่องจากการดำเนินการตามข้อกำหนดของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ทำได้สะดวก และได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากองค์กรภาครัฐและเอกชนต่างๆอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่สำหรับการผลิตสินค้าปศุสัตว์อินทรีย์ยังอยู่ในวงที่ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเกษตรกรยังขาดความรู้ ความเข้าใจในหลักการและข้อกำหนดของการผลิต ขาดต้นแบบหรือระบบการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในด้านการเลี้ยงและการจัดการด้านอาหารสัตว์ รวมไปถึงต้นทุนที่ใช้ในการผลิตยังค่อนข้างสูงอยู่ ดังนั้น การศึกษารูปแบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์อินทรีย์ทั้งด้านการจัดการฟาร์ม การผลิตอาหารสัตว์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงและทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น และนำมาถ่ายทอดสู่เกษตรกร จะเป็นการสร้างองค์ความรู้ และความเข้าใจในระบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์เพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมการผลิตที่สอดคล้องกับศักยภาพและทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทำให้เกษตรกรมีความหลากหลายของกิจกรรมการผลิตอันจะเป็นภูมิคุ้มกันในการประกอบอาชีพ และมีความมั่นคงด้านอาหารทั้งระดับครัวเรือน ส่งผลให้เกษตรกรมีอาชีพและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

5. วัตถุประสงค์

1.       เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านปศุสัตว์อินทรีย์ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองอินทรีย์และการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ครบวงจร

2.       เพื่อพัฒนาฟาร์มไก่พื้นเมืองและไก่ไข่อินทรีย์ต้นแบบสำหรับใช้ในการฝึกอบรม ดูงาน และฝึกปฏิบัติการด้านการผลิตสินค้าเนื้อไก่และไข่อินทรีย์

3.    เพื่อขยายฐานการผลิตสินค้าเนื้อไก่และไข่อินทรีย์ จากระบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ที่มีความปลอดภัยทางอาหารสำหรับผู้บริโภค

6. เป้าหมาย

   6.1 เชิงปริมาณ  เกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 180 คน

                       ฟาร์มต้นแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองอินทรีย์ 1 แห่ง

                       ฟาร์มต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ 1 แห่ง

6.2 เชิงคุณภาพ เกษตรกรที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง อย่างน้อย 80%

7. วิธีดำเนินการ

ลำดับ

กิจกรรม

วัน/เดือน/ปี

1

สำรวจความต้องการรับการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงไก่พื้นเมืองและไก่ไข่อินทรีย์

15 ต.ค. 60 15 พ.ย. 60

2

พัฒนาพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยให้เป็นฟาร์มไก่พื้นเมืองและไก่ไข่อินทรีย์ต้นแบเพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษาดูงาน

1 ธ.ค. 6030 ม.ค. 61

3

จัดเตรียมความพร้อมและเอกสารสำหรับการฝึกอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงไก่อินทรีย์

15 พ.ย. 60 1 ม.ค. 61

4

ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านปศุสัตว์อินทรีย์และการเลี้ยงไก่พื้นเมืองและไก่ไข่อินทรีย์ครบวงจร

1 ม.ค. 61 30 เม.ย. 61

5

ติดตามและประเมินผลการฝึกอบรม

15 เม.ย. 61 15 พ.ค. 61

6

สรุปผลการดำเนินงาน

1 พ.ค. 61 30 มิ.ย. 61

                                                                       

สถานที่ดำเนินการ (ระบุพื้นที่)

1.        ต.ตำหนักธรรม อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่

2.      ต.สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่

3.      ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่

4.      ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ด้านเศรษฐกิจ

1.       เกษตรกร ลดต้นทุนการผลิตโดยการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น

2.      เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าปศุสัตว์ กระตุ้นการบริโภค เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในชุมชน

3.      เกษตรกรมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ

4.      เกิดความมั่นคงทางอาหารในชุมชน และลดปัญหาเนื่องจากความยากจน

          ด้านสังคม

1.       กลุ่มผู้ผลิตอาหารจากการเกษตรมีจิตสำนึกที่ดีต่อผู้บริโภคโดยการผลิตอาหารไร้สารเคมี หรือสารพิษตกค้าง

2.      ในชุมชนมีการแบ่งปันความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในกลุ่ม

3.      เป็นการปลูกฝังการเลี้ยงสัตว์ด้วยความเมตตามีให้กับเยาวชนรุ่นใหม่

4.      ลดปัญหาด้านสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค

            ด้านสิ่งแวดล้อม

1.       ปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดจากสารเคมีตกค้าง เกิดความสมดุลของธรรมชาติในระบบนิเวศน์ของชุมชน

2.      ใช้ประโยชน์และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในชุมชนอย่างสมดุล

3.      ลดภาวะโลกร้อน  มีการกระจายปุ๋ยมูลสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ         

 

ภาพกิจกรรมที่ 5
ติดต่อเรา