กิจกรรมที่ 12


การต่อยอดเกษตรอินทรีย์สู่การเพิ่มรายได้และพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตโดยการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์


4. หลักการและเหตุผล

ประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญด้านการเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ ที่มีระบบการปฏิบัติการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์โดยปราศจากสารเคมี  มุ่งเน้นการทำเกษตรให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างปลอดภัย  อีกทั้งนโยบายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ได้ตระหนักในเรื่องการเรียนการสอนด้านการเกษตรปลอดภัยสู่ความเป็นเกษตรอินทรีย์ โดยใช้เทคโนลยีและนวัตกรรมทางวิชาการที่เหมาะสม เน้นความปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้รับการดูแลร่วมกับระบบเกษตรอินทรีย์  แต่ทั้งนี้ปัจจุบันเป็นประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยน  ที่ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และสำนึกดีในการทำการเกษตรอินทรีย์ ที่ต้องใช้เวลา การเอาใจใส่ และเพียรพยายามในทุกขั้นตอนของการเกษตรแบบเกษตรปราณีต และการใช้หลักการตามศาสตร์พระราชามาเป็นแรงบันดาลใจให้กับเกษตรกรให้เดินตามรอยกษัตริย์เกษตร 

การท่องเที่ยว เป็นการสนับสนุนและช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในระบบเกษตรได้อย่างลงตัว  การท่องเที่ยวเชิงเกษตร  เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถดช่วยเสริมสร้างรายได้และช่องทางการจำหน่ายสินค้าการเกษตร รวมถึงการให้เป็นแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาด้านการเกษตรสำหรับนักท่องเที่ยว  บางครั้งอาจทำให้นักท่องเที่ยวเกิดแรงบันดาลใจให้รักอาชีพเกษตรหรือนำไปต่อยอดได้อีกหลายกิจกรรม

โครงการต่อยอดเกษตรอินทรีย์สู่การเพิ่มรายได้และพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตโดยการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์  จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มาช่วยพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ให้กำลังใจเกษตรกรให้ดำเนินอาชีพเกษตรให้มีความสุข และก่อเกิดรายได้จากการให้บริการการท่องเที่ยวจากทรัพยากรด้านการเกษตรของตนเอง อีกทั้งการสนับสนุนให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้สนใจทั่วไปที่มีใจรักด้านการเกษตร  จึงเป็นที่มาของโครงการนี้เพื่อทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ ในจังหวัดแพร่  เชิญชวนผู้บริโภคที่ต้องการอาหารปลอดภัยสู่รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์กับผู้ผลิตโดยตรง และการแลกเปลี่ยนรู้วัฒนธรรมเกษตร

 

5. วัตถุประสงค์

5.1 เพื่อพัฒนาเกษตรกรสู่งานบริการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

5.2 เพื่อพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ จังหวัดแพร่

5.2 เพื่อออกแบบการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยน

 

6. เป้าหมาย

          6.1 เชิงปริมาณ

          1. พื้นที่เกษตรอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยน  9  พื้นที่ สำหรับการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์ ในจังหวัดแพร่

          2. เกษตรเข้าร่วมอบรม จำนวน 320 คน 

3. คู่มือการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยน จำนวน  1,000 เล่ม

4. เว็ปไซต์ประชาสัมพันธ์  จำนวน 1 เว็ปไซต์

5.แผ่นพับ  จำนวน       3,000 แผ่น

6. ป้ายสื่อความหมาย  จำนวน  20 ป้าย

7. โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ จำนวน  3,000 แผ่น

8. จัดนิทรรศการการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์  1 ครั้ง

 

6.2 เชิงคุณภาพ

1. ร้อยละ 80 เกษตรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์  90

2. ร้อยละ 80 เกษตรมีทักษะการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้

3. ร้อยละ 80 เกษตรมีรายได้จากการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

4. ร้อยละ 80 เกษตรมีความพึงพอใจในการให้บริการนักท่องเที่ยว

5. ร้อยละ 80 นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์

 

7. วิธีดำเนินการ

ลำดับ

กิจกรรม

วัน/เดือน/ปี

1

สำรวจพื้นที่เกษตรอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยน

รวบรวมข้อมูลด้านทรัยพากรการเกษตร

ตุลาคม-ธันวาคม 2560

มกราคม-กุมภาพันธ์ 2561

2

อบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์

มีนาคม-พฤษภาคม 2561

3

ผลิตสื่อวิดีทัศน์

มีนาคม-มิถุนายน 2561

4

จัดทำแผ่นพับ

มีนาคม-มิถุนายน 2561

5

จัดทำป้ายสื่อความหมาย

มีนาคม-มิถุนายน 2561

6

จัดทำคู่มือการท่องเที่ยว

มีนาคม-มิถุนายน 2561

7

จัดทำโปสเตอร์

มีนาคม-มิถุนายน 2561

8

จัดทำเว็บไซต์

มีนาคม-มิถุนายน 2561

9

จัดนิทรรศการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์

กรกฎาคม-สิงหาคม 2561

                                                                       

8. สถานที่ดำเนินการ (ระบุพื้นที่)

1) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ  อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

2) บ้านห้วยโรงใน  หมู่ 4   ตำบลห้วยโรง     อำเภอร้องกวาง     จังหวัดแพร่

3) บ้านเหล่าเหนือ  หมู่ 4  ตำบลบ้านกลาง   อำเภอสอง    จังหวัดแพร่

4) บ้านเสลียมเหนือ  หมู่ 5  ตำบลตำหนักธรรม   อำเภอหนองม่วงไข่   จังหวัดแพร่

5) บ้านนาคูหา  หมู่ 5   ตำบลสวนเขื่อน   อำเภอเมือง   จังหวัดแพร่

6) บ้านนาตม  หมู่ 1   ตำบลน้ำชำ    อำเภอสูงเม่น    จังหวัดแพร่

7) บ้านปากพวก    ตำบลเด่นชัย      อำเภอเด่นชัย      จังหวัดแพร่

8) บ้านเหล่า  หมู่ 2   ตำบลเวียงต้า      อำเภอลอง     จังหวัดแพร่

9) บ้านวังลึก  หมู่ 4  ตบลนาพูน  อำเภอวังชิ้น  จังหวัดแพร่

 

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 เกษตรกรหรือผู้สนใจสามารถศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการบริการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ โดยมีโอกาสพัฒนาให้เป็นลักษณะฟาร์มสเตย์ หรือโฮมสเตย์ได้

9.2 ท้องถิ่นมีพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์เป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่สนใจ

9.3 นักวิชาการหรือสถาบันการศึกษา สามารถเข้าไปศึกษาเรียนรู้ทางวิชาการด้านการเกษตรอินทรีย์ได้

9.4 นักท่องเที่ยวที่สนใจด้านการเกษตรอินทรีย์ มีพื้นที่ท่องเที่ยวด้านการเกษตรที่หลากหลายในพื้นที่จังหวัดแพร่

9.5 บริษัทนำเที่ยว หรือธุรกิจการท่องเที่ยวทั่วไปสามารถบรรจุโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในเส้นทางการท่องเที่ยวล้านนาตะวันออกได้

ภาพกิจกรรมที่ 12
  • การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์
ติดต่อเรา