กิจกรรมที่ 1

โครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิต

 

1. ชื่อโครงการ สำรวจองค์ความรู้เพิ่มเติมเตรียมความพร้อมด้านความรู้ ทัศนคติและสร้างเครือข่าย

2. ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์อุบลวรรณ  สุภาเสน

3. คณะทำงาน

4. หลักการและเหตุผล

          ระบบเกษตรอินทรีย์เป็นระบบการผลิตที่ปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตแบบเคมี ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและส่งผลต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม มาเป็นระบบเกษตรที่ให้ความสำคัญกับ 3 องค์ประกอบหลักคือ สุขภาพของดิน ระบบนิเวศ และผู้คน

                        ปัจจุบัน แนวโน้มในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ได้ขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามความท้าทายที่สำคัญของการส่งเสริมการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด

5. วัตถุประสงค์

1.  เพื่อสำรวจพื้นที่และองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดแพร่

2.  เพื่อสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีของเกษตรกรในจังหวัดแพร่ต่อระบบเกษตรอินทรีย์

3.  เพื่อสร้างเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดแพร่

6. เป้าหมาย

          6.1 เชิงปริมาณ

                   1.  องค์ความรู้ในการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์จำนวน 8 ชุมชน

                   2.  เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน  480  คน

                   3.  เครือข่ายเกษตรอินทรีย์จังหวัดแพร่ 1 เครือข่าย

          6.2 เชิงคุณภาพ

1.  สามารถนำองค์ความรู้ในการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดแพร่มาแลกเปลี่ยน  เรียนรู้ระหว่างชุมชน

2.  เกษตรกรผู้เข้าร่วมจำนวน 480 คน และเครือข่ายเกษตรอินทรีย์จังหวัดแพร่ มีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์และขยายผลไปยังเกษตรกรคนอื่น ๆ ในจังหวัดแพร่

7. วิธีดำเนินการ

ลำดับ

กิจกรรม

วัน/เดือน/ปี

1

สำรวจพื้นที่และองค์ความรู้

ธันวาคม 2560 – มีนาคม 2561

2

ฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์

เมษายน – มิถุนายน 2561

3

ศึกษาดูงาน

เมษายน – มิถุนายน 2561

4

การประเมินความพร้อมของเกษตรกรต่อการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์

มิถุนายน 2561

                                                                       

 

สถานที่ดำเนินการ (ระบุพื้นที่)

1.  ต.บ้านหนุน อ.สอง จังหวัดแพร่ 60 คน

2.  ต.แม่ทราย ต.ทุ่งศรี ต.แม่ยางร้อง อ.ร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำนวน 60 คน

3.  ต.แม่คำมี ต.หนองม่วงไข่ ต.น้ำรัด ต.วังหลวง ต.ตำหนักธรรม ต.ทุ่งแค้ว อ.หนองม่วงไข่ จำนวน60 คน

4.  บ้านวังเย็น ต.ห้วยม้า บ้านหนองแขม ต.ป่าแดง อ.เมือง จ.แพร่ จำนวน 60 คน

5.  บ้านนาตม ต.น้ำชำ ต.หัวฝาย อำเภอสูงเม่น จ.แพร่ จำนวน 60 คน

6.  เทศบาลตำบลเด่นชัย  อ.เด่นชัย จ.แพร่ จำนวน 60 คน

7.  ต.บ่อเหล็กสอง บ้านนาไผ่ ต.นาไผ่ ต.บ้านปัน อ.ลอง จ.แพร่ จำนวน 60 คน

8.  บ้านวังลึก ต.นาพุน อ.วังชิ้น จ.แพร่  จำนวน 60 คน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.        ได้ข้อมูลเชิงพื้นที่และองค์ความรู้ในการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดแพร่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาและเกษตรกรในสการนำข้อมูลดังกล่าวไปเป็นแนวทางในการพัฒนาการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดแพร่

2.      เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจ  การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์อย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ต่อไป

3.      เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร ภายในเครือข่ายเกษตรอินทรีย์จังหวัดแพร่ทำให้เกษตรกรที่มีความสนใจการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ได้รับความช่วยเหลือจากเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์อยู่แล้วในระบบพี่เลี้ยง

ภาพกิจกรรมที่ 1
ติดต่อเรา